วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ระเบียบเข้าเมืองเกาหลี

ข้อมูลการทำวีซ่าเกาหลี
ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ ต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องขอวีซ่าก่อนเดินทาง โดยวีซ่า มีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้
passport icon วีซ่าระยะสั้น (อยู่ในเกาหลีใต้ ไม่เกิน 90 วัน)
• C-3 Visa
     ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้เพียงชั่วคราวต้องได้รับ C-3 Visa หรือวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นวีซ่าระยะสั้นหมายถึงสามารถอยู่ในเกาหลีใต้ได้ไม่เกิน 90 วันซึ่งจะไม่สามารถทำการยื่นเรื่องขอต่อระยะเวลาการพำนักอาศัย ในขณะอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ได้แต่สำหรับชาวไทยที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเรียนภาษา ถ้าระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)จะได้รับการยกเว้นอนุญาตให้เข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงที่ทำร่วมกันกับเกาหลีใต้(สัญญายกเว้นการตรวจลงตรา หรือวีซ่า)

รายชื่อประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องขอวีซ่า อยู่เกาหลีใต้ได้ 90 วัน
ทวีปยุโรป
ออสเตรีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ค เอสโทเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ เยอรมัน ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิธัวเนีย มอลตา ฮอลแลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส โปแลนด์ โรมาเนีย สเปน สาธารณรัฐสโลวัค สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ตุรกี
ทวีปเอเชีย และ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค
บังคลาเทศ อิสราเอล มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไทย
ทวีปอเมริกา
อินติกัวและบาร์บูดา บาฮามาส บาเบโดส บราซิล โคลัมเบีย คอสตาริกา ดอมินิกา โดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ 
เกรเนดา ไฮติ จาไมก้า เม็กซิโก นิคารากัว เปรู ปานามา เซนต์ลูเซีย เซนคริสและเนวิส เซนต์วินเซนต์และ
เกรนาดีนส์ ซูรินัม ทรินิแดดและโทบาโก
ทวีปแอฟฟริกา
เลโซโธ ไลบีเรีย โมรอคโค ตูนีเซีย
ประเทศหรือภูมิภาคที่สามารถเข้าเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าภายใต้ข้อตกลงพิเศษและผลประโยชน์
ทวีปยุโรป
อัลบาเนีย แอนดอร์รา โครเอเชีย ไซปรัส โมนาโค ซานมาริโน สโลเวเนีย วาติกัน
ทวีปเอเชีย และ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค
บรูไน ฮ่องกง ญี่ปุ่น คูเวต มาเก๊า โอมาน การ์ต้าร์ ซาอุดิอาราเบีย ไต้หวัน อาหรับเอมิเรค เยเมน ออสเตรเสีย ฟิจิ กวม คิริบาติ เกาะมาร์เชล ไมโครนีเซีย เนารู นิวคาเลโดเนีย ปาเลา เกาะโซโลมอน
ทวีปอเมริกา
แคนาดา สหรัฐอเมริกา
ทวีปแอฟฟริกา
อียิปต์ แอฟริกา สวาซิแลนด์

passport icon  วีซ่าระยะยาว (อยู่ในเกาหลีใต้ เกิน 90 วัน)     
   ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้เกิน 90 วันไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตามต้องได้รับใบ
จดทะเบียนต่างด้าวหรือ Certificate of Alien Registrationจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยบุคคลนั้นจะต้องไปทำการจดทะเบียนต่างด้าวหรือลงทะเบียนการพำนักอาศัย ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามท้องถิ่น
ในเขตพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ซึ่งจะตั้งอยู่ในที่ต่างๆตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงโซล สนามบินอินชอน เมืองพูซาน ฯลฯ ภายใน 90 วันนับจากวันที่เดินทางมาถึงประเทศเกาหลีใต้หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวคนเข้าเมืองให้ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปเรียนภาษาโดยมีระยะเวลามากกว่า 90 วันจะต้องยื่นเรื่องขอวีซ่าประเภทนักเรียนดังต่อไปนี้
• D-2 Visa
     วีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้นักเรียนอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ได้ เป็นเวลา 1 ปี และหากต้องการศึกษาต่อก็สามารถยื่นเรื่องต่ออายุวีซ่าได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ประเทศเกาหลีใต้ซึ่งนักเรียนต้องนำหลักฐานจากสถานศึกษาไปยื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
• D-4 Visa
     วีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้นักเรียนอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ได้คราวละ 6 เดือนและสามารถต่ออายุวีซ่านักเรยนได้ในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งนักเรียนต้องนำหลักฐานจากสถานศึกษาไปยื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
หากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาก็สามารถต่ออายุวีซ่าได้ โดยเปลี่ยนเป็น D-2 Visaการขอวีซ่าทุกประเภทไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถยื่นเรื่องขอได้ที่สถานทูตเกาหลีประจำประเทศไทยโดยเอกสารที่ต้องใช้สำหรับ
การขอวีซ่านักเรียน มีดังนี้
1. แบบฟอร์มขอวีซ่า (ขอได้ที่สถานทูตเกาหลี) ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
2. หนังสือเดินทางและสำเนา 1 ชุด
3. เอกสารตอบรับเข้าเรียนจากสถานศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
4. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน
5. ใบแสดงผลการเรียนจากสถานศึกษาสุดท้ายก่อนเข้าเรียนที่ประเทศเกาหลีใต้
6. หลักฐานรับรองฐานะทางการเงิน
7. รูปถ่ายสี 2 นิ้ว 1 ใบ
*ในขั้นตอนการยื่นเรื่องขอวีซ่า นักเรียนจะต้องไปยื่นเรื่องที่สถานทูตเกาหลีด้วยตนเอง
หมายเหตุ : นักเรียนไม่สามารถใช้หนังสือตอบรับจากทางมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาไปยื่นขอวีซ่าประเภททำงานได้ เพราะตามกฎหมายของเกาหลีใต้การเปลี่ยนประเภทวีซ่า นักเรียนต้องเดินทางออกจากเกาหลีใต้และไปยื่นขอเปลี่ยนวีซ่าในประเทศถิ่นพำนักของตนอีกประการหนึ่งคือ กฎหมายของเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนทำงานรวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับวีซ่าทำงานด้วยหากฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำคุกและปรับ

passport  การเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการนำเงินเข้า-ออก ประเทศเกาหลีใต้
การเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้หากผู้โดยสารมีเงินเกาหลี (KRW) หรือเงินสกุลอื่น อันมีค่ามากกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ จะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศเกาหลีใต้เพื่อเสียภาษี และหากเดินทางโดยนำเงินออกจากประเทศเกาหลีใต้ อันมีค่ามากกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ (ไม่รวมกับจำนวนเงินที่นำเข้ามาและได้แจ้งเมื่อเดินทางมาถึงแล้ว) ก็ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทาง ศุลกากรประจำด่านนั้น หรือธนาคารแห่งชาติเกาหลีเพื่อขอใบอนุญาตเช่นกัน
passport  ด่านศุลกากรการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ผู้โดยสารท่านใดมีสิ่งของต้องเสียภาษีให้เข้าไปที่ช่อง “สิ่งของที่ต้องแจ้ง (Goods to declare)” ซึ่งการที่ผู้โดยสารแจ้งสิ่งของไม่ปลอดภาษีเองด้วยความสมัครใจสิ่งของนั้นจะได้รับ
การยอมรับและขั้นตอนการตรวจของศุลกากรจะเร็วขึ้น สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีสิ่งของแจ้งภาษีให้เข้าไปที่ช่อง “ไม่มีสิ่งใดที่ต้องแจ้ง (Nothing to declare)”
passport  ระบบการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
เกาหลีใต้มีการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคทั้งจากสัตว์และพืช ดังนั้นผู้โดยสารที่มีสิ่งของเข้าข่ายแหล่งอันก่อให้เกิดเชื้อโรคต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้โดยสารที่ประสงค์จะนำเข้าสิ่งของจำพวกสัตว์ ได้แก่ สัตว์ที่มีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกประเภท 
จะต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาลของประเทศที่ส่งออกและต้องทำการแจ้งรายการของสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกประเภทต่อสถานกักกันและวิจัยเกี่ยวกับสัตว์แห่งชาติ เมื่อเดินทางมาถึง เพื่อตรวจสอบต่อไป
2. ผู้โดยสารที่ประสงค์จะนำเข้าสิ่งของจำพวกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดก็ตาม ต้องแจ้งกรมศุลกากรทันทีที่มาถึง เพื่อกรอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมา ลงในแบบฟอร์มของกรมศุลกากร
delete_open_folderรายการสิ่งของและสินค้าที่จำกัดการนำเข้าประเทศเกาหลีใต้
1. ผลไม้สดจากทุกประเทศ จำพวก มะม่วง ส้ม มะละกอ เชอรี่ เป็นต้น
2. ผัก เมล็ดพืช กล้วยไม้ ก้านพันธุ์ หรือดอกไม้สด
3. พันธุ์ต้นกล้าของต้นแอปเปิ้ล องุ่น จากประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป
4. ดิน หรือพืชที่มีดินติดมาด้วยจากทุกประเทศ
5. ผล และเมล็ดวอลนัทจากประเทศส่วนใหญ่
6. สัตว์ที่มีชีวิต และสินค้าที่ทำมาจากสัตว์



ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น