ศาสนา
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใจกว้างในเรื่องศาสนา ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันไม่ได้ยึดติดกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ไม่แปลกเลยที่คู่สมรสซึ่งเพิ่งแต่งงานใหม่ จะทำพิธีบอกกล่าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่หิ้งบูชา ตามแบบของชาวพุทธ แต่ทำพิธีแต่งงานตามแบบชาวคริสต์ และไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าชินโต ในระหว่างการไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ไม่แปลกอะไรที่คนญี่ปุ่นจะพาลูกสาวอายุ 3 ขวบ ลูกชายอายุ 5 ขวบและลูกสาวอายุ 7 ขวบไปที่วัดชินโต ทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง แต่จัดงานศพในวัดพุทธ หรือร่วมฉลองเทศกาลคริสต์มาสอย่างสนุกสนานพิธีกรรมหรือประเพณีต่าง ๆ ทางศาสนานั้น ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มากกว่าความหมายทางศาสนา ซึ่งคนญี่ปุ่นก็สามารถปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ ของศาสนาที่แตกต่างกันได้ โดยไม่มีความรู้สึกขัดแย้งแต่อย่างใด นอกจากนั้น ศาสนาชินโต ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่น ไม่กีดกันหรือใจแคบกับศาสนาอื่น และการนำพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อ และคริสตศาสนานิกายคาธอลิค เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 17 ก็สร้างความบาดหมาง ระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในประวัติศาสตร์ทางศาสนาของญี่ปุ่นนั้น มีการสู้รบกันเพราะสาเหตุทางศาสนาค่อนข้างน้อยครั้ง ลักษณะอีกสองประการของศาสนาในญี่ปุ่นคือ ยินยอมให้ผู้ที่นับถือศาสนาที่ต่างกันแต่งงานกันได้ และไม่สอนศาสนาในโรงเรียนโดยทั่วไป
จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา ศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เก่าแก่หรือเกิดมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ คำว่า “ชินโต” หมายถึงวิถีของพระเจ้า ศาสนาชินโตมีความเชื่อที่ว่าวัตถุทุกอย่างในธรรมชาติและปรากฎการณ์ต่าง ๆ มีวิญญาณหรือเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความเชื่อแบบลัทธิภูติผี ผสมผสานกับการบูชาบรรพบุรุษตามความเชื่อในศาสนาพุทธ คำสั่งสอนในศาสนาชินโต นอกจากจะให้เคารพบรรพบุรุษแล้ว ก็ยังสอนให้เด็กรู้จักนบนอบต่อผู้ใหญ่ คนหนุ่มต้องเคารพนบน้อมต่อผู้สูงอายุ ผู้หญิงต้องเคารพผู้ชายซึ่งได้กลายมาเป็นระเบียบประเพณีที่ภรรยาต้องอยู่ในอำนาจของสามี การที่ชาวญี่ปุ่นโค้งให้กันอย่างอ่อนน้อมหลายครั้งนั้น ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสุภาพอ่อนน้อม ซึ่งเป็นผลมาจากศาสนาชินโตนี่เอง
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เก่าแก่หรือเกิดมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ คำว่า “ชินโต” หมายถึงวิถีของพระเจ้า ศาสนาชินโตมีความเชื่อที่ว่าวัตถุทุกอย่างในธรรมชาติและปรากฎการณ์ต่าง ๆ มีวิญญาณหรือเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความเชื่อแบบลัทธิภูติผี ผสมผสานกับการบูชาบรรพบุรุษตามความเชื่อในศาสนาพุทธ คำสั่งสอนในศาสนาชินโต นอกจากจะให้เคารพบรรพบุรุษแล้ว ก็ยังสอนให้เด็กรู้จักนบนอบต่อผู้ใหญ่ คนหนุ่มต้องเคารพนบน้อมต่อผู้สูงอายุ ผู้หญิงต้องเคารพผู้ชายซึ่งได้กลายมาเป็นระเบียบประเพณีที่ภรรยาต้องอยู่ในอำนาจของสามี การที่ชาวญี่ปุ่นโค้งให้กันอย่างอ่อนน้อมหลายครั้งนั้น ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสุภาพอ่อนน้อม ซึ่งเป็นผลมาจากศาสนาชินโตนี่เอง
ศาสนาพุทธ
พุทธศาสนา เผยแผ่สู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศจีนและเกาหลี ในประมาณกลางศตวรรษที่ 6 ในช่วงที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานมาถึงญี่ปุ่น คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถูกปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว และยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีกเมื่อต้องเผชิญ กับความเชื่อดั้งเดิมที่คนญี่ปุ่นนับถือกันอยู่ อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนาได้ส่งอิทธิพลอย่างมากมายต่อญี่ปุ่นในเวลาต่อมา ในปัจจุบันศาสนาพุทธในญี่ปุ่นแตกออกเป็น 56 นิกายใหญ่และอีก 170 นิกายย่อย ในวัดพุทธมีพระพุทธรูป( บุทสึโซ ) ผู้คนที่มาวัดจะจุดธูปบูชาเบื้องหน้าพระพุทธรูป ครอบครัวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยตั้งแท่นบูชาพระและแท่นบูชาบรรพบุรุษไว้ในบ้าน ปีใหม่ก็ยังคงนิยมไปไหว้ขอพรที่วัดศาสนาพุทธกันอย่างเนืองแน่น
พุทธศาสนา เผยแผ่สู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศจีนและเกาหลี ในประมาณกลางศตวรรษที่ 6 ในช่วงที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานมาถึงญี่ปุ่น คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถูกปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว และยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีกเมื่อต้องเผชิญ กับความเชื่อดั้งเดิมที่คนญี่ปุ่นนับถือกันอยู่ อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนาได้ส่งอิทธิพลอย่างมากมายต่อญี่ปุ่นในเวลาต่อมา ในปัจจุบันศาสนาพุทธในญี่ปุ่นแตกออกเป็น 56 นิกายใหญ่และอีก 170 นิกายย่อย ในวัดพุทธมีพระพุทธรูป( บุทสึโซ ) ผู้คนที่มาวัดจะจุดธูปบูชาเบื้องหน้าพระพุทธรูป ครอบครัวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยตั้งแท่นบูชาพระและแท่นบูชาบรรพบุรุษไว้ในบ้าน ปีใหม่ก็ยังคงนิยมไปไหว้ขอพรที่วัดศาสนาพุทธกันอย่างเนืองแน่น
ศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์เผยแผ่มายังญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1549 โดยกลุ่มมิชชันนารี นิกายคาทอลิก เนื่องจากบรรดาไดเมียวเจ้าผู้ครองแคว้นเห็นแก่ผลประโยชน์จากการค้าขายกับต่างประเทศ ที่จะได้รับเข้ามาพร้อม ๆ กับบาทหลวง จึงให้การต้อนรับพวกมิชชันนารีเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ไม่มากเท่าใดนัก แต่ศาสนาคริสต์มีบทบาทในด้านการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของสตรีและการศึกษาในระดับมัธยม ในปัจจุบันมีโรงเรียนคริสต์ราว 800 โรงเรียน มากกว่าโรงเรียนของศาสนาอื่น ๆ
วัฒนธรรม
ญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่นแอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523
ดนตรี
ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น
วรรณกรรม
วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ตำนานเก็นจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลกระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, ยะซุนะริ คะวะบะตะ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิ ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)
ดูรายละเอียดและโปรแกรมทัวร์เพิ่มเติม http://www.korea-expert.com http://www.koreaexperttour.com http://www.japanexperttour.com http://www.iam-tour.com http://www.japan-expert.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น